เมนู

3. มาณวเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระมาณวเถระ


[210] ได้ยินว่า พระมาณวเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ฉันเห็นคนแก่ คนเจ็บหนัก และคนตายตาม
อายุขัยแล้ว จึงละได้ซึ่งกามารมย์ อันเป็นของรื่นรมย์
ใจ แล้วออกบวชเป็นบรรพชิต.

อรรถกถามาณวเถรคาถา


คาถาของท่านพระมาณวเถระ เริ่มต้นว่า ชิณฺณญฺจ ทิสฺวา ทุกฺขิ-
ตญฺจ พฺยาธิตํ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถรนี้ ก็มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
เข้าไปสั่งสมกุศล อันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ไว้ในภพนั้น ๆ เกิดใน
ตระกูลพราหมณ์ ในกัปที่ 91 แต่ภัทรกัปนี้ เป็นหมอดูลักษณะ ตรวจดู
ลักษณะ แห่งพระอภิชาติของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี
ประกาศบุรพนิมิต แล้วพยากรณ์ว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าโดยส่วนเดียว
ดังนี้ แล้วชมเชยโดยนัยต่าง ๆ ถวายบังคมแล้ว การทำประทักษิณแล้วหลีกไป.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวอยู่แต่ในสุคติอย่างเดียว เกิดในเรือน
แห่งพราหมณ์มหาศาล ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ เจริญเติบโต
อยู่แต่ภายในเรือนอย่างเดียว จนถึง 7 ปี ในปีที่ 7 พวกบริวารนำพาไป

ชมสวน เห็นคนแก่ คนเจ็บ และคนตายในระหว่างทาง จึงถามบริวารชน
เหล่านั้น เพราะไม่เคยเห็นคนแก่ คนเจ็บ และคนตาย ฟังสภาพของชรา
พยาธิ และมรณะ แล้วเกิดความสลดใจหันหลังกลับ ไปสู่วิหารฟังธรรมใน
สำนักของพระบรมศาสดา ให้มารดาบิดาอนุญาตแล้วบวช เริ่มตั้งวิปัสสนา
บรรลุพระอรหัต ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ใน
อปทานว่า
เมื่อพระวิปัสสีโพธิสัตว์ ประสูติ เราได้พยากรณ์
นิมิตว่า จักยังหมู่ชนให้ดับเข็ญ จักเป็นพระพุทธเจ้า
ในโลก เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดประสูติ
หมื่นโลกธาตุย่อมหวั่นไหว บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น เป็นศาสดาผู้มีพระจักษุ ทรงแสดงธรรม
อยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดประสูติ ได้มี
แสงสว่างอันไพบูลย์ บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระ-
องค์นั้น เป็นศาสดาผู้มีพระจักษุ ทรงแสดงธรรมอยู่
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดประสูติ แม่น้ำ
ทั้งหลายไม่ไหล บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้น เป็นศาสดาผู้มีพระจักษุ ทรงแสดงธรรมอยู่ เมื่อ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดประสูติ ไฟในอเวจี
นรก ไม่ลุกโพลง บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้น เป็นศาสดาผู้มีพระจักษุ ทรงแสดงธรรมอยู่ เมื่อ
พระผู้มีพระภาคพระองค์ใดประสูติ หมู่นกไม่สัญจร
ไป บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นศาสดา

ผู้มีพระจักษุ ทรงแสดงธรรมอยู่เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์ใดประสูติ กองลมย่อมไม่พัดฟุ้งไป บัดนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นศาสดาผู้มีพระ
จักษุ ทรงแสดงธรรมอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคพระองค์
ใดประสูติ แก้วทุกชนิด ส่งแสงโชติช่วง บัดนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นศาสดาผู้มีพระ
จักษุ ทรงแสดงธรรมอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์ใดประสูติ ทรงย่างพระบาทก้าวไป 7 ก้าว
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นศาสดาผู้มี
พระจักษุ ทรงแสดงธรรมอยู่ พอพระสัมพุทธเจ้า
ประสูติแล้วเท่านั้น ก็ทรงเหลียวแลดูทิศทั้งปวง ทรง
เปล่งอาสภิวาจา นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย เรายังหมู่ชนให้เกิดสังเวช ชมเชยพระผู้มี
พระภาคเจ้าผู้นำของโลก ถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้า
แล้ว บ่ายหน้ากลับไปทางทิศปราจีน ในกัปที่ 91
แต่ภัทรกัปนี้ เราชมเชยพระพุทธเจ้าใด ด้วยการ
ชมเชยนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ
ชมเชย ในกัปที่ 90 แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ มีนามว่า สัมมุขาถวิกะ สมบูรณ์ด้วย
แก้ว 7 ประการ มีพลมาก ในกัปที่ 89 แต่ภัทรกัปนี้
เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีนามว่า ปฐวี ทุนทุภิ
สมบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ มีพลมาก ในกัปที่ 88

แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์
มีนามว่า โอกาส สมบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ มี
พลมาก ในกัปที่ 87 แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ มีนามว่า สริตัจเฉทนะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว
7 ประการ มีพลมาก ในกัปที่ 86 แต่ภัทรกัปนี้ เรา
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีนามว่า อัคคินิพพาปนะ
สมบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ มีพลมาก ในกัปที่ 85
แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีนามว่า
กติปัจฉาทนะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ มีพลมาก
ในกัปที่ 87 แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
มีนามว่า วาตสมะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ มี
พลมาก ในกัปที่ 83 แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ มีนามว่า รัตนปัชชละ สมบูรณ์ด้วยแก้ว
7 ประการ มีพลมาก ในกัปที่ 82 แต่ภัทรกัปนี้ เรา
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช มีนามว่า ปทวิกกมนะ
สมบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ มีพลมาก ในกัปที่ 81
แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช มีนาม
ว่า วิโลกนะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ มีพลมาก
ในกัปที่ 80 แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
มีนามว่า คิรสาระ สมบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ มี
พลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของ
พระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้.

ก็พระเถระผู้บรรลุพระอรหัตแล้ว อันภิกษุทั้งหลายถามว่า ดูก่อน
อาวุโส ท่านยังเป็นเด็กนัก บวชด้วยความสลดใจอะไร เมื่อจะพยากรณ์
พระอรหัตผล โดยอ้างถึงการสรรเสริญนิมิตแห่งบรรพชาด้วยตน ได้กล่าว
คาถาว่า
ข้าพเจ้าเห็นคนแก่ คนเจ็บหนัก และคนที่ตาย
ตามอายุขัยแล้ว จึงได้ละซึ่งกามารมย์ อันเป็นของ
รื่นรมย์ใจ แล้วออกบวชเป็นบรรพชิต
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชิณฺณํ ความว่า อันชราครอบงำแล้ว
คือ เป็นร่างอันชราธรรม มีฟันหัก ผมหงอก และความเป็นผู้มีหนังเหี่ยวย่น
เป็นต้น ประชุมแล้ว. บทว่า ทุกฺขิตํ ได้แก่ ถึงความลำบากที่หมายรู้กันว่า
เป็นทุกข์. บทว่า พฺยาธิตํ ได้แก่ คนเจ็บ. ก็ในบทว่า พฺยาธิตํ นี้ย่อมให้
สำเร็จ (ความหมายถึง) ความประสบทุกข์ แม้ในเวลาพูดว่า ถึงความเจ็บไข้.
คำว่า ทุกฺขิตํ ท่านกล่าวไว้เพื่อแสดงถึงความเป็นผู้มีไข้หนักของผู้ที่ถึงทุกข์นั้น.
บทว่า มตํ แปลว่า คนผู้ตายแล้ว เพราะเหตุที่ผู้ที่การทำกาละแล้ว ย่อม
ชื่อว่า ถึงความสิ้น ความเสื่อม ความแตกดับแห่งอายุ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
คตมายุสงฺขยํ คนที่ตายตามอายุขัย ดังนี้. เพราะเหตุนั้น คือเพราะเหตุที่
คนแก่ คนเจ็บและคนตาย ท่านได้เห็นแล้ว ได้แก่ เพราะเหตุที่ท่านถึงความ
สลดใจว่า ขึ้นชื่อว่า ความแก่ เป็นต้นเหล่านี้ ไม่มีเฉพาะแก่สัตว์เหล่านั้นเท่านั้น
โดยที่แท้ มีทั่วไปแก่สัตว์ทั้งปวง เพราะฉะนั้น แม้เราก็ไม่ล่วงพ้นความแก่
เป็นต้นไปได้.
บทว่า นิกฺขมิตูน แปลว่า ออกแล้ว. ถึงบาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน.
(ความก็ว่า) ออกจากเรือน ด้วยความประสงค์จะบรรพชา.

บทว่า ปพฺพชึ ความว่า เข้าถึงบรรพชาในพระศาสนา ของพระ-
ศาสดา.
บทว่า ปหาย กามานิ มโนรมานิ ความว่า ละวัตถุกามที่ชื่อว่า
เป็นของรื่นรมย์ใจ เพราะทำใจของผู้ที่ยังไม่ปราศจากราคะให้ยินดี โดยความ
เป็นของน่าปรารถนาน่าใคร่เป็นต้น อธิบายว่า ละทิ้ง ฉันทราคะ อันเนื่องด้วย
วัตถุกามนั้น โดยตัดขาดด้วยพระอริยมรรค คือโดยความไม่เพ่งเล็ง. ก็คำเป็น
คาถานี้ ได้เป็นคาถาพยากรณ์พระอรหัตผลของพระเถระ โดยมุข คือ การชี้ชัด
ถึงการละกามทั้งหลาย. พระเถระนี้ เกิดสมัญญานามว่า มาณวะ ดังนี้เทียว
เพราะเหตุที่ท่าน บวชแล้วในเวลาที่ยังเป็นมาณพ ฉะนี้แล.
จบอรรถกถามาณวเถรคาถา

4. สุยามนเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสุยามนเถระ


[211] ได้ยินว่า พระสุยามนเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ความพอใจในเบญจกามคุณ ความพยาบาท
ความง่วงเหงาหาวนอน ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจและ
ความสงสัย ย่อมไม่มีแก่ภิกษุโดยประการทั้งปวง.